1. ชื่องานออกแบบ

สำนักงานศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

2. หลักการ/ที่มาของงานออกแบบ 

การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

ตามมติสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7/2553 เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจขึ้นเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่คณาจารย์และนักศึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการดำเนินการยื่นขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า แผนภูมิของวงจรรวม เครื่องหมายการค้า และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการนำผลงานที่ได้รับสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร สู่เชิงพาณิชย์ เช่น การอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการคุ้มครอง รักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกระเบียบที่ชื่อว่า "ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารงานศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ พ.ศ. 2553" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการนำความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และผลงานวิจัยมาแปลงเป็นทรัพยากร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ การต่อยอดการผลิต การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ที่เกิดจากงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย การออกระเบียบนี้ทำให้การบริหารจัดการงานด้านวิจัยมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอนาคต

 

งานที่ให้บริการ

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจมีการให้บริการต่างๆ แก่บุคคลภายใน และภายนอก ดังนี้

o เสริมสร้างความรู้และเผยแพร่กิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

o กระตุ้นและเพิ่มศักยภาพในการค้นคว้าวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

o ดูแลจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการคุ้มครอง และรักษาสิทธิประโยชน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

o บ่มเพาะธุรกิจให้เกิดผู้ประกอบการใหม่สามารถพัฒนาสู่การจัดตั้งบริษัท

o สนับสนุนส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชุมชนผ่านงานด้านคลินิกเทคโนโลยีและงานหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

3. ทฤษฏีที่ใช้ในการออกแบบ

นิยามของสำนักงาน (Office)

สำนักงานเปรียบเสมือนสถานที่ในการทำงาน บริหารงาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสาร สำนักงานจึงประกอบด้วยบุคลากร อุปกรณ์ และแผนงาน เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน นอกจากนี้สำนักงานยังเป็นหัวใจในการทำงานของการบริหารงานทั่ว ๆ ไป เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานสารบรรณ เป็นต้น จึงมีผู้ให้คำนิยามของคำว่า ”สำนักงาน”ในความหมายต่าง ๆ กัน ดังนี้

สำนักงาน แปลว่า ที่พัก ที่อาศัย ที่ทำการ แหล่งสถาบัน หรืออาคารที่ใช้เป็นที่ทำงาน (พจนานุกรมไทย พ.ศ. 2530)

สำนักงาน หมายถึง ที่สำหรับบริหารงาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสาร โดยมีการรวบรวม บันทึก และประมวลผลให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และมีความหมาย และเป็นที่ที่มีรูปแบบการทำงานเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน นอกจากนี้อาจดำเนินการเกี่ยวกับการบัญชีการเงินและงบประมาณ และการสั่งงาน สำนักงานประกอบด้วยบุคลากรที่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ในอันที่จะทำให้องค์กรสามารถดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ (แววตา เตชาทวีวรรณ)

สำนักงาน หมายถึง สถานที่ปฏิบัติงานของผู้บริหาร หรือหมายถึง สถานที่ดำเนินงานหนังสือ งานเอกสาร หรืองานข่าวสารข้อมูล (พรรณี ประเสริฐวงษ์)

สำนักงาน คือ สถานที่ที่มีการโต้ตอบจดหมาย การจัดเตรียมแบบฟอร์มและรายงานการจัดเก็บเอกสาร และการบริหารงานเอกสาร ซึ่งงานเหล่านี้เป็นที่หน้าของ นักงานพิมพ์ดีดเลขานุการ ผู้จัดเก็บเอกสาร พนักงานบัญชี ผู้ใช้เครื่องใช้สำนักงาน ผู้ควบคุม และผู้จัดการสำนักงาน (Keeling and Kallaus)

นิยามของ Co-Working Space

Co-Working Space คือการรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราว และยังหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย หัวใจสำคัญของ Co-Working Space เริ่มต้นมาจากการทำงานในรูปแบบที่เรียกว่า Co-Working ซึ่งก็คือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะมาทำงานร่วมกันนี้มักเป็นกลุ่มคนทำงานอิสระ  ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป พูดง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้นสถานที่เปิดให้เช่าพื้นที่ทำงานที่เรียกกันว่า Co-Working Space จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานในลักษณะนี้ ในบางครั้ง คำนิยามของ Co-Working Space นอกจากจะหมายถึงการรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วยคนที่ใช้บริการ Co-Working Space มักจะเป็นกลุ่มคนที่ทำงาน Startup หรือคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ แต่คนทำงานประจำก็สามารถเข้าไปใช้บริการเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานหรือใช้เป็นที่นัดประชุมงานได้เช่นกันสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ Co-Working Space ได้รับความนิยมก็คือ ราคาประหยัดกว่าการเช่าออฟฟิศรายเดือน ซึ่งดึงดูดกลุ่มคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ที่ครบครัน มีพื้นที่ให้เลือกใช้หลากหลาย หรืออาจมีครัว ขนม และเครื่องดื่มให้บริการ นอกจากนั้น Co-Working Space ยังเป็นแหล่งรวมคนทำงานและนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ที่ชอบอิสระ และไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ อีกด้วย

วิวัฒนาการของสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ก่อนหน้าการเกิดขึ้นของ Co-working space นั้น สภาพแวดล้อมในการทำงานได้ถูกเรียงลำดับการวิวัฒนาการออกเป็น 4 อย่าง ดังนี้

First Place – ออฟฟิศดั้งเดิม

เป็นนิยามของสภาพแวดล้อมการทำงานแบบดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่เชิงกายภาพที่จับต้องได้ มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในการเชื่อมโยงระหว่างสถานที่ทำงานกับกิจกรรมการทำงาน เนื่องจากเป็นรูปแบบการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์การทำงานอย่างแนบแน่นทำให้แม้ว่าเวลาผ่านไปก็ยังคงเห็นรูปแบบการทำงานแบบนี้อยู่เป็นจำนวนมาก และมีการพัฒนารูปแบบการทำงานแบบนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโดยใช้หลักผังแบบเปิด (open plan), การใช้โต๊ะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความร่วมมือในการทำงาน (share desk, hot desk), การทำงานระยะไกล (Tele work) หรือการออกแบบโดยยึดกิจกรรมการทำงานเป็นหลัก (activity-base workplace) หลักการออกแบบเหล่านี้เพื่อปรับให้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบนี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง สำหรับองค์กรที่ไม่สามารถตอบสนองและปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบในระดับโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การเลือกพัฒนาเพียงแต่สถานที่การทำงานแบบ First place จึงมีแนวโน้มจะล้มเหลวในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ในการทำงานที่ดีและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในองค์กร

Second Place – ทำงานที่บ้าน

ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการส่งข้อผ่านสายสัญญาณ และการสื่อสารระยะไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บวกกับเหตุผลว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาจราจร เพราะทำให้ผู้คนสามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้, Second place จึงถือกำเนิดขึ้น เป็นการทำงานระยะไกลที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ แม้ว่าอยู่ที่บ้านก็สามารถทำงานได้

Third Place – นั้งทำงานร้านกาแฟ

แม้ว่าการทำงานอยู่ที่บ้านจะสบาย แต่ผู้คนก็โหยหารสชาติและบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน ความมีชีวิตชีวาในความหลากหลายของชีวิต บางคนเริ่มหาพื้นที่ที่ไม่ใช้สถานที่ทำงานอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทำงานให้อย่างครบถ้วน รูปแบบในการทำงานจะเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ อาจจะเป็นร้านกาแฟ ห้องสมุดสาธารณะ หรือที่ไหนก็ได้ ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตห้องน้ำ อาหาร และพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำงานในระดับหนึ่ง

Forth Place – ชุมชนในการทำงานร่วมกัน

เริ่มจากบริการ Service office ที่ตอบโจทย์สำหรับกลุ่มบริษัทเล็กๆที่พึ่งเปิดใหม่ ทุนเริ่มต้นไม่เยอะ โดยการจัดพื้นที่เช่าเพื่อให้ผู้เช่าสามารถมีสำนักงานที่อยู่ย่านใจกลางเมือง ในราคาที่สามารถจ่ายไหวและทุกบริษัทในพื้นที่เช่ายังต้องใช้แผนกต้อนรับร่วมกัน ห้องประชุมร่วมกัน เครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสารรวมไปถึงพื้นที่ส่วนรวมด้วยกัน ทำให้ต้นทุนสำหรับการเริ่มต้นมีสถานที่ทำงานอยู่ในราคาที่ต่ำกว่าปรกติ เป็นจุดเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมของการเกื้อกูลอาศัยกัน

และหากจะให้อธิบายความเป็น Co-working space สั้นๆ อีกครั้งก็อาจจะบอกได้ว่า : Co-working space เป็นสภาพแวดล้อมของการทำงานที่มีลักษณะเป็นชุมชนที่ช่วยเหลือกันทั้งเรื่องการทำงานและเรื่องต่างๆในการใช้ชีวิต ด้วยการออกแบบพื้นที่เพื่อสร้างความเป็นไปได้ให้คนในพื้นมีโอกาสที่จะสามารถปฏิสัมพันธ์เพื่อเกื้อหนุนกัน ทำให้องค์ความรู้ต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ถูกถ่ายทอดอย่างเสรีในพื้นที่แห่งนี้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ผ่านพื้นที่การทำงานที่เปรียบเสมือนโลกจำลอง จุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บางอย่างผ่านการทำงานหนักจนถึงขั้นหมกมุ่นที่ขับเคลื่อนด้วยแรงปรารถนาเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในจินตนาการปรากฏขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงและจำนวนหนึ่งของจินตนาการเหล่านั้น สุดท้ายจะมีพลังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเราด้วยนวัตกรรมที่เป็นผลจากความสร้างสรรค์ของพวกผู้ที่ทำงานอยู่ใน Co-working space

 

หลักการออกแบบสำนักงานศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

1. การค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานก่อนการออกแบบ  ประกอบด้วยแนวทางคือ

       1.1  ศึกษารูปแบบการทำงานเฉพาะขององค์กร  การประสานสัมพันธ์ติดต่อระหว่างบุคคลต่างๆ ในสำนักงานแต่ละแผนกทั้งพนักงาน ผู้บริหาร ตลอดจนลูกค้าผู้มาติดต่ออย่างละเอียดครบถ้วนเพื่อนำมากำหนดเป็นพื้นที่ใช้สอยทั้งพื้นที่ส่วนตัวของบุคลากร  ตลอดจนพื้นที่รวมขององค์กร การแบ่งสรรพื้นที่ การลำดับความสำคัญในการวางผังจำนวนตารางเมตรของแต่ละพื้นที่

       1.2 ศึกษาลักษณะเฉพาะของธุรกิจ รูปแบบทางการค้าขายทั้งระดับปรกติ  จนถึงระดับพิเศษที่มีแบบฉบับเฉพาะตัวประเภทของสินค้าผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือลักษณะการให้บริการ

2. กำหนดแนวความคิดและไอเดียสร้างสรรค์เฉพาะตัว

        2.1  กำหนดความเป็นเอกภาพของแนวความคิดทั้งองค์กร  โดยมีการเชื่อมสัมพันธ์ของการออกแบบไปทุกส่วน ตั้งแต่กราฟฟิคดีไซน์ โลโก้ นามบัตร หัวจดหมาย เอกสารขององค์กร ทั้งหมดไปจนถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของบุคลากรทั้งหมด  ซึ่งการออกแบบจะต้องสะท้อนแบรนด์, ลักษณะเด่นขององค์กรออกมา  เช่น รูปแบบการให้บริการ, รูปแบบการจัดการองค์กร, การบริหารจัดการ  โดยถ่ายทอดออกมาเป็นนามธรรม  แล้วพัฒนาออกมาเป็นรูปธรรมต่อไป คือ จากแนวความคิดเป็นรูปแบบเฉพาะนั่นเอง

        2.2 กำหนดสัญลักษณ์  เริ่มตั้งแต่สัญลักษณ์ 2 มิติ  สู่สัญลักษณ์ 3 มิติ เป็นการตีความจากตัวตนขององค์กร  แล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปแบบที่จับต้องได้ทั้งรูปร่าง  รูปทรง  พื้นที่ว่างการจัดผังเฉพาะตามแนวความคิดหลักและการใช้สอย

       2.3 มีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล สามารถอธิบายได้

3.  การจัดผังสำนักงาน

       หลังจากได้ข้อมูลทางด้านบุคลากร, การบริหารจัดการ, ตำแหน่งหน้าที่ ลักษณะการใช้งานอย่างครบถ้วนแล้วสามารถนำมาจัดพื้นที่ใช้สอยได้อย่างลงตัว  โดยลำดับการใช้งานลำดับตำแหน่งหน้าที่การประสานระหว่างบุคลากรและการทำงานแต่ละแผนก เริ่มต้นด้วยโซนใหญ่ๆ หลังจากนั้นจึงย่อส่วนลงมาในโซนเล็กลงสู่พื้นที่ส่วนตัวของทุกตำแหน่งบุคลากร ข้อคำนึงในการวางผังสำนักงานมีดังนี้ครับ

     3.1 คำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งแต่ละทุกชนชาติจะไม่เหมือนกันไปจนถึงวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งการวางผังต้องคำนึงถึงมากเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด

     3.2 คำนึงถึงสไตล์ในการทำงาน  โดยเริ่มจากองค์รวมของสำนักงานไปจนถึงหน่วยย่อยที่เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัว โดยยึดหลักเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน โดยเฉพาะการจัดแบ่งพื้นที่ตามยศหรือตำแหน่งในองค์กร จึงควรมีการระดมสมองร่วมกันทั้งฝ่ายบุคคลอย่างเป็นเอกภาพ โดยยึดหลักเสียสละมากกว่าการยึดพื้นที่ ซึ่งทำยากสำหรับองค์กรของไทย

     3.3 มุมมอง, ทัศนียภาพและความเชื่อ  ถ้าสามารถนำการออกแบบมาใช้ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด  การวางผังจึงต้องคำนึงถึงในข้อนี้เป็นพิเศษเพื่อให้ทุกตำแหน่งไม่มีมุมตายโดยนำวิธีการจัดวาง การกั้นผนังให้เกิดมุมมองใหม่ ในกรณีไม่สามารถให้ทุกมุมได้เห็นวิวทางธรรมชาติได้  โดยใช้วิธีจัดมุมมองทดแทน  อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความเชื่อ ทั้งของส่วนบุคคลและระดับองค์กร โดยเฉพาะเรื่องฮวงจุ้ย ซึ่งควรใช้หลักเหตุและผล หลักบุคลิกภาพและพฤติกรรมเป็นตัวนำมากกว่าความงมงาย

4. การสร้างบรรยากาศ

     4.1 ให้เกิดบรรยากาศกระตือรือร้น แอคทีฟ  ด้วยการใช้สีที่สดใสแต่ไม่ต้องถึงขนาดที่สีตัดกันรุนแรงให้มีความสุขุม มั่นคง เกิดความเชื่อมั่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย, จุดเด่นขององค์กรด้วยครับ จะเป็นสีอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นสีที่เป็นเนื้อคู่กันจริงๆ ตรงนี้ต้องปรึกษามัณฑนากรครับ

    4.2 การใช้แสงอย่างเหมาะสม  ไม่ควรสลัวๆ มืดจนเกินไป แต่ควรรู้จักเน้นในบางจุด และเกลี่ยแสงให้เท่าๆ กันในบริเวณทำงาน โดยอาจจะมีแสงจากบริเวณโต๊ะด้วยโคมไฟตั้งโต๊ะหรือติดตั้งกับชุดโต๊ะทำงาน  ที่สำคัญควรจะต้องออกแบบให้สามารถ ใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด

    4.3 รูปแบบ จะต้องขึ้นอยู่กับบุคลิก, นโยบายองค์กร

 

4. วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นสำนักงานของศูนย์ฯ, co-working space สำหรับสมาชิก และ ศูนย์ให้คำปรึกษาความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นผู้ประกอบการจนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเองได้ ประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ กับผู้รับการบ่มเพาะในการให้คำปรึกษา การจัดดำเนินงานทางด้านธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในการบ่มเพาะธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นคณาจารย์หรือนักศึกษาที่มีผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ โดยได้รับการคุ้มครองในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาจากมหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

 

5. สถานที่ตั้ง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาคารศูนย์วิจัยขั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

 

6. ขนาดพื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ใช้สอย 1,100 ตารางเมตร ประกอบไปด้วย

1. โถงลิฟท์ / โถงจัดนิทรรศการ / ห้องน้ำ

2. โถงต้อนรับ

3. ห้องสัมมนา / อบรม / ห้องเรียนฯ

4. ห้องประชุม 5 types

5. co-working space / ให้คำปรึกษาการเริ่มต้นธุรกิจ

6. ส่วนสำนักงานศูนย์ฯ

 

7. งบประมาณ

9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน)

 

8. ข้อมูลอ้างอิง

http://www.sat.tu.ac.th/tuipi/tuipi_main.php

http://j-design.th.com

http://blog.jobthai.com

http://indesign-consultant.com

https://www.youtube.com/watch?v=KLxFbFAhfJg

https://www.youtube.com/watch?v=duQdDfdrmvI

https://www.youtube.com/watch?v=K-pJxlChXKw

https://www.youtube.com/watch?v=vPKJgCvBpE0