งานออกแบบปรับปรุงพื้นที่สวนไม้หอมบริเวณห้องอ่านหนังสือธรรมศาสตร์สโมสร
เจ้าของโครงการ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พื้นที่โครงการ บริเวณหอพักธรรมศาสตร์
งบประมาณการก่อสร้างโครงการ 2,870,000 บาท
ออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภณัฐ เดชนิรัติศัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบและวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การนำเสนอรายละเอียดงานออกแบบปรับปรุงพื้นที่สวนไม้หอมบริเวณห้องอ่านหนังสือธรรมศาสตร์สโมสร
พื้นที่โครงการ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ด้านข้างอาคารธรรมศาสตร์สโมสร ใกล้กับหอพักธรรมศาสตร์ A3 และโรงอาหารทิวสนโดม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ขนาดพื้นที่โครงการ 1.8 ไร่ หรือประมาณ 2,952 ตารางเมตร
พื้นที่โครงการประกอบด้วยอาคารธรรมศาสตร์สโมสร ซึ่งเป็นอาคารอเนกประสงค์ จัดตั้งเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคลากร
ที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณหอพักธรรมศาตร์ ในการใช้งาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อ่านหนังสือ ทำงานกลุ่ม รวมถึงนั่งพักผ่อนในห้องปรับอากาศได้
พื้นที่โดยรอบประกอบไปด้วย ลานดาดแข็งบล็อกคอนกรีตด้านหน้า และพื้นที่ดินรกร้างบริเวณด้านข้างที่เป็นพื้นที่ดินลุ่ม มีน้ำขังเมื่อฝนตก
ภายในพื้นที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ต้นไทร ต้นตีนเป็ดน้ำ ต้นหางนกยูง พื้นที่ดินยาวต่อเชื่อมไปถึงพื้นที่คูน้ำบริเวณด้าน
หลังอาคารธรรมศาสตร์สโมสร เชื่อมกับคูน้ำด้านหลังพื้นที่โรงอาหารทิวสนโดม และคูน้ำบริเวณหอพักธรรมศาสตร์โซนซี ซึ่งมีบรรยากาศ
ที่สวยงาม พื้นที่ภายนอกอาคารมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมด้านนันทนาการ และพื้นที่พักผ่อน แต่ปัจจุบันยังไม่ด้มีการปรับปรุง
ให้พื้นที่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
แนวความคิดการออกแบบ เลือกใช้แนวความคิด Modern Tropical Garden สร้างบรรยากาศด้วยสภาพแวดล้อม และธรรมชาติที่มีความ
สวยงามของพืชพรรณแบบพืชเขตร้อน ประกอบกับการเลือกใช้ชนิดพันธ์ที่ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี หรือออกดอกตามฤดูกาล
สร้างความรื่นรมย์ให้แก่ผู้ใช้พื้นที่ ผ่านการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทางด้านสายตา การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการรับรส
ซึ่งจะรับรู้ถึงความเป็นธรรมชาติ และสีสันต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของไม้ดอกแต่ละชนิด
อีกทั้งเป็นพื้นที่พักผ่อนทำกิจกรรม ที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นพื้นที่นั่งชมวิวริมน้ำ ลานด้านหน้าอาคารเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ
การใช้งานภายในพื้นที่อาคารธรรมศาสตร์สโมสร ที่เป็นพื้นที่นั่งทำงาน พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่อ่านหนังสือของนักศึกษา
การออกแบบคำนึงถึงการสร้างพื้นที่รองรับกิจกรรม คำนึงถึงผู้ที่เข้าใช้งาน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษา และบุคลากรของทางมหาวิทยาลัย
ซึ่งการออกแบบพื้นที่ประกอบไปด้วย พื้นที่กิจกรรมเชิงนันทนาการ และการพักผ่อน พื้นที่ลานอเนกประสงค์ พื้นที่นั่งพักผ่อนริมน้ำ ทั้งแบบ
โต๊ะ เก้าอี้ และม้านั่งยาวแบบมีพนักพิง พื้นที่ทางเดิน และลู่วิ่ง และเครื่องออกกำลังกายขนาดเล็ก สำหรับกิจกรรมนันทนาการ
สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วย 1. อาคารธรรมศาสตร์สโมสร และ 2. ลานกิจกรรมอยู่บริเวณด้านหน้าเชื่อมต่อกับทางเดินเท้า และถนนด้านหน้า
บริเวณภายในลานด้านหน้าเดิม มีต้นไทรขนาดใหญ่ จำนวน 2 ต้นอยู่ทางด้านซ้าย และขวาให้ร่มเงากับพื้นที่ลานบริเวณนี้ได้อย่างดี
ได้จัดทำ 4. พื้นที่จอดรถจักรยานประมาณ 10 คัน สำหรับนักศึกษาที่เข้ามาใช้งาน อยู่ด้านบริเวณริมรั้ว และเชื่อมต่อกับแนวทางเดิน ทาง
จักรยานมีหลังคาคลุมตลอดแนวเชื่อมต่อกับโรงอาหารทิวสนโดม บริเวณด้านหลังเป็น 3. ลานกิจกรรม สามารถเชื่อมต่อกับประตูกระจกใส
มองเห็นพื้นที่สนามหญ้า และสวนด้านหลังอาคารได้เป็นอย่างดี
5. พื้นที่สนามหญ้า และสวนด้านข้าง เชื่อมต่อกับทางเดินที่อยู่โดยรอบ และเชื่อมไปยัง 6. พื้นที่นั่งริมน้ำ และ 7. ทางเดินเชื่อมไปยังหอพัก
ธรรมศาสตร์โซน A ขนาบข้างผ่าน 9. ลานจอดรถจักรยานยนต์ รวมถึงทางด้านทิศใต้มี 8. ทางเดินเชื่อมไปยังโรงอาหารทิวสนโดม
ในช่วงเวลากลางคืน ได้จัดเตรียมเสาไฟทางเดินความสูง 4.00 เมตร และไฟ LED สี Warm White 100W อุณหภูมิสี 4000 K เพื่อให้
พื้นทีเ่กิดบรรยากาศสว่าง และปลอดภัย สว่างโดยรอบพื้นที่สามารถใช้พื้นที่กิจกรรมภายนอกได้
เส้นทางเดิน และทางเชื่อมต่อในพื้นที่ ทำทางเดินกว้าง 2.00 เมตร ใช้รูปทรงเรขาคณิต Geometric เป็นเส้นตรง และเฉียง ปรับมุมโค้ง
ให้สามารถเดินได้อย่างสะดวก โดยทำเส้นสายเอียง และเฉียงด้วยการใช้ใบกรีดลูกหนูตัดเว้นร่อง เพื่อป้องกันการแตกร้าว และสร้างลวดลาย
บนผิวพื้นให้เกิดความสวยงามได้
รูปแบบพื้นที่กิจกรรมประกอบไปด้วย พื้นที่กิจกรรมภายในอาคารธรรมศาสตร์สโมสร พื้นที่ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ดาดแข็ง พื้นที่พักผ่อน
ที่ปลูกต้นไม้ และพืชพรรณไม้ดอกหอม และพื้นที่พักผ่อนริมน้ำ รวมถึงท่าน้ำขนาดเล็กด้วย ที่สามารถมองเห็นพื้นที่น้ำทางด้านทิศตะวันตก
ซึ่งเป็นมุมมองที่สวยงามในช่วงเวลาเย็นที่พระอาทิตย์ตกด้วย
รูปแบบเสาไฟ และโคมไฟในสวน เลือกวางตำแหน่งที่ให้แสงสว่างแก่สวน และทางเดินได้เป็นอย่างดี กระจายกันไปในระยะที่เหมาะสม
กำลังไฟ 100 W สีของแสง 4100k ตามรายละเอียดของโคมไฟ เลือกไฟที่เป็น LED อยู่ด้านบน ซึ่งจะสามารถส่องสว่างลงมาในพื้นที่ได้
อย่างครอบคลุม และเป็นวงกว้าง 360องศา
ชนิดพืชพรรณเลือกพรรณไม้ที่มีดอกหอม เช่น จำปีสีนวล จำปีสิรินธร ลำดวน กรรณิการ์ พิกุล ปีป จันทร์กะพ้อ สารภี พุด แก้ว เป็นต้น
โดยปลูกให้ผสมผสานไปกับต้นไม้เดิมที่อยู่ในพื้นที่ โดยมีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4.00-6.00 เมตร เพื่อให้แต่ละต้น สามารถแตกพุ่ม
โตได้อย่างเต็มฟอร์ม และไม่เบียดกันกับต้นเดิม โดยมีแนวต้นสนประดิพัทธ์เป็นต้นไม้เดิมอยู่บริเวณขอบริมน้ำ กำหนดขอบเขตของพื้นที่
การเลือกใช้ต้นไม้ เลือกใช้ต้นไม้ที่ขุดล้อมมา แต่ไม่เลือกต้นที่มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป ขนาดที่เหมาะสมคือ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว
ความสูงประมาณ 3.00-4.00 เมตร เพื่อให้ต้นไม้ไม่ชะงักตัว และสามารถเติบโตต่อในพื้นที่ได้อย่างดี โดยการปลูกในพื้นที่ จะทำการยกตุ้มดิน
ให้สูงจากพื้นสักประมาณ 0.10 เมตร เพื่อไม่ให้น้ำขัง และทำเนินโดยรอบ เพื่อช่วยในการเก็บกักน้ำ และความชื้นเอาไว้ได้
องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และที่นั่ง เลือกใช้แบบที่มีการผสมผสานระหว่างไม้จริง และคอนกรีต เพื่อให้เกิดความสวยงาม และน่าใช้งาน
รวมถึงเลือกใช้แบบมีพนักพิง เพื่อให้ผู้ใช้นั่งได้นานขึ้น และมีความสบายในการนั่งมากขึ้น แต่เนื่องจากการใช้ไม้จริงมีข้อจำกัดทางด้าน
การดูแลรักษา และความคงทน ซึ่งฝน ความชื้น และแสงแดดอาจจะทำให้เกิดการหลุดลอก และเกิดเชื้อราได้ ในอนาคตจึงแนะนำเป็นไม้เทียม
หรือเลือกใช้ชุดเก้าอี้คอนกรีต ซึ่งจะมีความคงทนแข็งแรงมากกว่า
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปจะมีความเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ภายในอาคาร และพื้นที่ภายนอกอาคาร เมื่อเดินผ่านบริเวณด้านหน้า
มุมมองแต่ละพื้นที่ เปิดโล่งให้สามารถมองเห็นได้ถึงกัน และมองทะลุผ่านไปยังพื้นที่น้ำด้านหลังได้อย่างชัดเจน
เลือกใช้วัสดุพื้นที่มีความแข็งแรงคงทน ไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ ทำผิวด้วยกรวดล้าง และบล็อกคอนกรีตซึมน้ำ สลับเป็นแนวแพทเทิร์นที่สวยงาม
พื้นที่ด้านข้างบริเวณโคนต้นไทร เว้นการทำพื้นคอนกรีตดาดแข็ง แต่ได้เลือกใช้ผ้าใยกรองดิน Geotextile และหินคลุกก่อสร้าง เพื่อให้เป็น
ระเบียบเรียบร้อย สามารถเก็บกวาดใบไม้ได้ง่าย อากาศ และน้ำสามารถซึมผ่านบริเวณเขตรากได้ เป็นประโยชน์แก่การเจริญเติบโต และไม่
ทำลายระบบรากของต้นไม้
ในช่วงกลางคืน บริเวณด้านหน้าอาคารติดตั้งเสาไฟแสงสว่าง ส่งเสริมความโดดเด่นของอาคารธรรมศาสตร์สโมสร และเป็นจุดต้อนรับบริเวณ
ด้านหน้าหอพักธรรมศาสตร์โซน A และ B ได้ ซึ่งในช่วงเวลาปกติอาคารธรรมศาสตร์จะเปิดถึง 20.00น. และช่วงสัปดาห์สอบเปิดถึง 24.00 น.
พื้นที่สนามหญ้าด้านข้างเป็นพื้นที่พักผ่อน ลานกิจกรรม และพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวภายในพื้นที่ ในช่วงแนวความคิดการออกแบบ ได้เสนอแนะ
ให้จัดทำแนวเก้าอี้ม้านั่งสีขาว แต่เนื่องจากงบประมาณจำกัด จึงได้ปรับเปลี่ยนให้เหลือเพียงทางเดิน สนามหญ้า ต้นไม้ยืนต้น และไม้พุ่มเท่านั้น
เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และประหยัดค่าก่อสร้างได้ดี
ลานกิจกรรม และสนามหญ้า สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่อาคารธรรมศาสตร์สโมสรได้ทั้งทางด้านมุมมอง และด้านการเปิดโล่ง ไม่ปลูกไม้พุ่ม
ไม้คลุมดิน บัง หรือขวางทาง โดยเลือกใช้ต้นไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน ปลูกเป็นกลุ่มก้อนทดแทน
ไม้พุ่มที่เลือกใช้ ให้สัมพันธ์กับสวนไม้หอม เลือกใช้ชนิดที่ดูแลรักษาง่าย สามารถอยู่ทั้งกลางแจ้ง และกึ่งร่มได้ เช่น กระดุมทองเลื้อย
บุษบาฮาวาย พุดซ้อน พุดพิชญา หญ้าน้ำพุ เป็นต้น
ทางเดินด้านหลังอาคารธรรมศาสตร์สโมสร ที่เป็นพื้นลานกระเบื้องเดิม สามารถเดินเชื่อมไปยังพื้นที่ริมน้ำของโรงอาหารทิวสนโดมได้
อย่างสะดวก บริเวณพื้นที่ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อ ปรับมุมโค้งของแนวทางเดิน ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เดินตัดไปมาได้อย่างสะดวก ลอดผ่าน
แนวต้นไม้ไปได้
บริเวณทางเดินริมน้ำส่วนด้านหลัง เชื่อมต่อไปสู่อาคารหอพักธรรมศาสตร์โซน A จัดวางชุดโต๊ะเก้าอี้ริมน้ำ ชมบรรยากาศของพื้นที่ และมีท่าน้ำ
ขนาดเล็กเป็นระดับลงไปยังน้ำ สำหรับการทำกิจกรรมริมน้ำ เช่น พายเรือคายัค หรือสำหรับการดูแลรักษาได้ พื้นที่บางส่วนบริเวณด้านข้าง
จัดทำเป็นพื้นที่สูบบุหรี่ขนาดเล็ก มีแนวต้นไม้พุ่มบังให้เกิดความเป็นส่วนตัว และไม่รบกวนกับผู้คนโดยรอบ
แบบก่อสร้าง และการนำเสนอรายละเอียดงานออกแบบปรับปรุงพื้นที่สวนไม้หอมบริเวณห้องอ่านหนังสือธรรมศาสตร์สโมสร