ภาพจาก “งาน SKETCH อ.สมคิด วงศ์อัศวนฤมล” , Facebook

1.  ชื่องานออกแบบ

การออกแบบปรับปรุงเสนาสนะ: ซุ้ประตู รั้ว และส่วนประณีตประดับอาคาร วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

สถาปนิก : อาจารย์เชษฐา พลายชุม
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2559
 
 
2.  หลักการ / ที่มาของงานออกแบบ / แนวความคิดในการออกแบบ / รายละเอียดโครงการ 

เนื่องด้วยเห็นว่าอาคารต่างๆ ในวัดไทยพุทธคยามีอายุราว ๕๕ ปีมีความทรุดโทรม สมควรได้รับการบูรณะปฏิสังขร ทางรัฐบาลไทยจึงแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งในส่วนของทีมออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองได้รับขอบ

เขตเพื่อดำเนินการออกแบบปรับปรุงเสนาสนะ ดังรายการต่อไปนี้

๑. การปรับปรุงผังบริเวณ

๒. การออกแบบก่อสร้างอาคารซ่อมบำรุง

๓. การออกแบบซุ้มประตูวัด รั้ววัด

๔.การออกแบบรายละเอียดงานประณีตสถาปัตยกรรมไทยประกอบอาคารต่างๆ

โดยในส่วนที่นำเสนอในเอกสารจะแสดงเฉพาะงานที่ข้าพเจ้าอาจารย์เชษฐา พลายชุมรับผิดชอบออกแบบโดยตรง ได้แก่ การออกแบบซุ้มประตูวัด รั้ววัดและการออกแบบรายละเอียดงานประณีตสถาปัตยกรรมไทยประกอบอาคารต่างๆ 

 
3.  วัตถุประสงค์
เพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆให้สนองประโยชน์ใช้สอยและมีความงาม แสดงออกลักษณะสถาปัตยกรรมไทย  
 
4.  สถานที่ตั้ง
วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
 
5. ขนาดพื้นที่ใช้สอย
-
 
6. งบประมาณ

-

 

 

แนวความคิดในการออกแบบซุ้มประตู และรั้ววัด

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาภายในวัดไทยพุทธคยาเพิ่มจำนวนขึ้นมาก ปีหนึ่งมีชาวพุทธมาทำบุญไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 คน เพราะฉะนั้นอาคารต่างๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคจึงไม่เพียงพอที่

จะรองรับพระภิกษุสงฆ์ที่มาแสวงบุญ และพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่เข้ามาทำบุญเป็นจำนวนมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นชาวฮินดูหรือศาสนาอื่นๆ หลากหลายเชื้อชาติ

การปรับปรุงซุ้มประตูและรั้วจึงมีความสำคัญในการแสดงความเป็นไทยเปรียบเสมือนหน้าบ้าน ซึ่งแสดงถึงความเชื้อเชิญ จึงต้องเน้นเรื่องความสวยงามแบบไทยประเพณี และมีความเป็นภูมิสัญลักษณ์ (landmark) อันโดดเด่นในตัว ขณะเดียวกันยังต้องคำนึงถึงการควบคุมด้านความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

 

แนวคิดการออกแบบลายประดับหน้าจั่ว มุขทางเข้าอาคารพระมงคลเทพมุนี อาคารกิตติขจร

อาคารพุทธชยันตี ๒๖๐๐

 

     พุทธคยา ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธ ทั่วโลก เป็นศูนย์รวมของการจาริกแสวงบุญจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วโลก รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั่วโลก พุทธคยาเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ คือสถานที่ตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ในอาณาบริเวณพุทธคยาจะมีวัดชาวพุทธเป็นจำ นวน มากร่วมทั้งประเทศไทย พุทธคยาถือว่าเป็น ปฐวีนาภี สะดือของโลก เป็นจุดศูนย์กลางของโลก

      อนึ่ง ต้นพระศรีมหาโพธิเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในภัทรกัป นี้จะมีพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้ ตรัสรู้ภายใต้ ต้นไม้ที่ต่างสายพันธ์ ต่างลักษณะ ต่างชนิด พอคนเห็นต้นไม้ที่พระองค์ ตรัสรู้จะ เรียกว่า ต้นโพธิ มาจากคำ ว่า โพธิรุกขะ = โพธิ ตรัสรู้, รุกขะ

ต้นไม้ แปลว่า ต้นไม้อันเป็นที่ตรัสรู้

พระพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นสิรีสะ (ต้นซึก)

พระพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นมะเดื่อ

พระพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร)

พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นอัสสัตถะหรือ โพธิ์พฤกษ์

พระพุทธเจ้า พระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย ตรัสรู้ภายใต้ ต้นกากะทิง หรือคนไทยเรียกว่า ต้นทองหลาง

 

      นอกจากนี้ยังมีบทความที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและศักดิ์สิทธฺ์ของใบโพธิ์ กล่าวคือ “ข้าพเจ้าจะขอใบโพธิ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ได้หรือไม่”

“เจ้านาย จงหักเอาเท่าที่คุณชอบ มันไม่มีค่าอะไรสำหรับเรา” นี้เป็นคำตอบจากพวกเขาไม่มีความละอายจากอาการที่พวกเขาไม่สนใจใยดี ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ 3-4 ใบอย่างเงียบ ๆ

 ซึ่งพวกมหันต์ได้หักมาจากกิ่งบนหัวของพวกเขา และข้าพเจ้าได้นำใบโพธิ์ไปยังศรีลังกา เมื่อได้คัดลอกจารึกที่เป็นภาษาสันสกฤต ที่นั้น (ศรีลังกา) ข้าพเจ้าได้พบว่าใบโพธิ์เป็นสิ่งมีค่าสำหรับ

ชาวพุทธที่ศรีลังกา ซึ่งต้อนรับด้วยความกระตือรือร้นและศรัทธา ใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าถวาย ได้ถูกนำไปที่เมืองแคนดี้ และได้ใส่ไว้ในผอบที่มีค่าและได้รับการบูชาทุก ๆ วัน” [พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ) , จดหมายเล่าเรื่องอนาคาริกธรรมปาละ. กรุงเทพ 2543]

       ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงเน้นการสื่อความหมายถึงดินแดนพุทธภูมิอันสำคัญ และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใกล้เคียง ได้แก่ พระมหาเจดีย์พุทธคยาและต้นศรีมหาโพธฺ์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนทางกายภาพและการรับรู้โดยทั่วไปมาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ลายประดับหน้าจั่วอาคาร

       การผูกลายไทยในครั้งนี้มิได้ยึดถือแม่ลายไทยประเพณีทั้งหมด แต่ได้มีการประยุกต์นำใบโพธิ์มาเป็นส่วนสำคัญของลาย โดยออกแบบให้มีก้านใบ กาบ ตัวออกลายประกอบเป็นรูปทรงกระหนก หากสังเกตจะเห็นว่าลายดังกล่าวประยุกต์จากแม่ลายกระหนกใบเทศนั่นเอง

        ส่วนหน้าบัน ได้ใช้รูปแบบซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเล็กๆ ซึ่งลดหลั่นขนาดจากใหญ่ไปเล็กตั้งแต่ชั้นล่างขึ้นไปสู่ยอดมหาเจดีย์ โดยรูปแบบซุ้มดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกรอบหน้าบัน หรือบันแถลงในปราสาทเรือนชั้น แต่มีการลดทอนรายละเอียด ความซับซ้อนลงเหลือเป็นรูปร่างที่เรียบง่าย “ดูทันสมัย” ไม่เหมือนที่อื่น มาเป็นองค์ประกอบหลักในส่วนลายหน้าบันอาคาร