การปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

1. ชื่อโครงการ การปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

2. ผู้ออกแบบ    อาจารย์ศุภวัจน์  แก้วขาว

                       อาจารย์สุภณัฐ  เดชนิรัติศัย

                       สาขาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

3. หลักการและที่มา

                      ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยในตอนเริ่มต้นนั้นได้ก่อตั้งในนามของสถาบันญี่ปุ่นศึกษา ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกอันได้แก่ประเทศจีน  ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี  จึงได้มีมติที่จะขยายขอบเขตของการงานให้กว้างมากขึ้นจึงสถาปนาเป็นสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาในปี พ.ศ. 2527 โดยในปีเดียวกันประเทศญี่ปุ่นได้ให้ทุนในการก่อสร้างอาคารและดำเนินการก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2528 จากนั้นได้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ อีกมากมาย  เช่น การแลกเปลี่ยนนักวิชาการ การเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชน   การต้อนรับบุคคลสำคัญในโอกาสต่างๆ เป็นต้น สำหรับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษานอกจากจะมีพื้นที่ภายในอาคารหลักแล้ว ยังอาคารอีกหลังที่เป็นจุดเด่นคือ บ้านทรงญี่ปุ่นซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับพิธีชงชาและยังมีการใช้งานอยู่ อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามภูมิทัศน์ภายนอกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สภาพแวดล้อมและความเข้าใจในการดูแลรักษา รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ทำให้ภูมิทัศน์ในพื้นที่ดังกล่าวเกิดความไม่สวยงามและไม่น่าเข้าไปใช้งาน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวให้มีความเหมาะสมต่อและความน่าเข้าไปใช้งานมากขึ้น

4. วัตถุประสงค์ของโครงการ

                   เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่ศึกษาให้มีความเรียบร้อยและเหมาะสม 

                   เพื่อ

5. สถานที่ตั้ง 

                  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

6. ขนาดพื้นที่โครงการ

                 15 ไร่

7. งบประมาณ

                490,000 บาท (แบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรก 90,000 บาท เฟสที่สอง 400,000 บาท)

8. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                ในการปรับปรุงพื้นที่ศึกษาได้มีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

                1. การสำรวจและเก็บพื้นที่ โดยใช้แผนที่และแบบก่อสร้างเดิมประกอบการสำรวจ พร้อมกับการถ่ายภาพและบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจหรือเป็นประเด็นในด้านการใช้งาน และการดูแลรักษา

                2. การวิเคราะห์พื้นที่ นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญที่ต้องทำการปรับปรุงในแต่ละพื้นที่

                3. การออกแบบ นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแบบร่างก่อนพัฒนาเป็นแบบจริงและแบบก่อสร้าง

               4. การทำแบบก่อสร้างและใบราคากลาง นำแบบที่ได้มาพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างและถอดราคาวัสดุต่างๆ ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด

9. การวิเคราะห์ข้อมูล

              ในการศึกษาได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนด้านหน้าของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ส่วนคอร์ทด้านใน  ส่วนลานจอดรถและร้านอาหารราชาวดี  และส่วนบ้านญี่ปุ่น 

  • ส่วนด้านหน้าสถาบันเอเชียศึกษาและคอร์ทด้านใน           

การวิคราะห์พื้นที่บริเวณส่วนหน้าของสถาบันเอชียตะวันออกศึกษา

           การวิเคราะห์ส่วนด้านหน้าสถาบันเอเชียศึกษา เป็นพื้นที่เปิดโล่งที่โอบล้อมด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ค่อนข้างร่มรื่น มีการปลูกไม้พุ่มนำสายตาเข้าไปสู่ตัวอาคารคือ ชาฮกเกี้ยนปนกับเทียนทอง แต่มีโครงเหล็กเป็นซุ้มไม้เลื้อยขนานแนวถนนไปตัวอาคาร ทั้งสองด้าน ส่วนถนนไปยังลานจอดรถปลูกต้นต้อยติ่งเทศเป็นแนว แต่ตายไปเป็นช่วงๆ และใช้ต้นไม้ปลูกในกระถางสีขาวเป็นเกาะกลางถนน  นอกจากนั้นแล้วยังมีรถยนต์เข้าไปจอดนอกบริเวณลานจอดรถที่จัดไว้ รวมถึงมีเศษกิ่งไม้หรือหญ้าที่เหลือตัดแต่งกองไว้ และไม่มีระบบน้ำสำหรับการรดน้ำ

           ข้อเสนอแนะ เนื่องจากพื้นที่ด้านหน้าค่อนข้างแน่ไปด้วยต้นไม้ใหญ่และบางส่วนแสงแดดส่องไม่ถึงทำให้สนามหญ้าตายไปบางส่วน ควรที่จะมีการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่เพื่อให้มีแสงแดดส่องได้ถึง ส่วนโครงเหล็กเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างถาวรและทำให้เกิดการนำสายตาเชิญชวนให้ใช้งาน ขณะเดียวกันก็บังตัวอาคารบางส่วน ควรมีการตัดแต่งไม้เลื้อยให้โปร่งขึ้นเพื่อให้มองเห็นอาคารได้มากขึ้น หรือปรับการใช้งานพื้นที่ด้านล่างให้เป็นทางสัญจรได้ชัดเจน ส่วนแนวถนนที่ไปยังลานจอดรถควรปลูกไม้ที่มีลักษณะตัดแต่งเช่นเดียวกับทางด้านหน้าอาคาร ส่วนบริเวณที่มีรถยนต์จอดเข้าไปในพื้นดินนอกลานจอดรถควรปลูกเป็นไม้พุ่มที่สูงกว่าระดับสายตาบังไว้ แล้วจัดเป็นพื้นที่ทำปุ๋ยหมักโดยทำเป็นคอกหมักให้เรียบร้อย สำหรับระบบรดน้ำต้นไม้ควรเดินระบบน้ำให้ทั่วพื้นที่โดยอาจเป็นระบบสปริงเกอร์ที่ไม่เป็นแบบอัตโนมัติหรือเป็นก๊อกน้ำลากสายยางในระยะที่เหมาะสม

 

            การวิเคราะห์ส่วนคอร์ทด้านใน มีลักษณะเป็นพื้นที่สนามหญ้าเปิดโล่งทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีการปลูกต้นปาล์มมะนิลาเป็นแนว โดยมีการปล่อยให้หญ้าชนบริเวณโคนของต้นปาล์มเลยไม่มีการเว้นขอบ มีการสุมเศษหญ้าหลักจากตัดไว้บริเวณโคนต้น  และระบบรดน้ำต้องลากสายยางจากบริเวณอื่นเข้ามา

          ข้อเสนอแนะ ในส่วนนี้เปรียบเหมือนกับโถงต้อนรับของสถาบันฯ การดูแลอยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตามในพื้นที่นี้ยังมีปัญหาเล็กน้อยในช่วงฤดูแล้งไม่มีระบบน้ำที่จ่ายเข้าพื้นที่จะต้องลากสายยางจากส่วนอื่นเท่านั้น จำเป็นต้องทำระบบเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  นอกจากนั้นแล้วควรแต่งรอบโคนต้นของต้นไม้ยืนต้นไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้หญ้าคลุมจะทำให้ตัดหญ้าได้ยากและสร้างความเสียหายที่โคนต้นได้ง่ายจากใบตัดหญ้า ในระยะยาวโคนต้นจะผุและหักโค่นได้ ควรเว้นเป็นวงกลมขนาดตามความเหมาะสมของเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น

  • ส่วนลานจอดรถและร้านอาหารราชาวดี  และส่วนบ้านญี่ปุ่น

 

การวิคราะห์พื้นที่บริเวณลานจอดรถและร้านอาหารราชาวดี

           

           การวิเคราะห์ส่วนลานจอดรถและทางเข้าร้านอาหารราชาวดี บริเวณนี้เป็นส่วนที่มีผู้เข้ามาใช้งานพอสมควร โดยเป็นทั้งผู้ที่มาติดต่อราชการและมารับประทานอาหารที่ร้านราชาวดี  บริเวณทางเข้าไปยังร้านอาหารมีการเทพื้นปูนเป็นทางลาดแล้วปูพื้นด้วยแผ่นทางเท้าซึ่งค่อนข้างชำรุด เชื่อมต่อไปยังบริเวณร้านอาหาร นอกจากนั้นแล้วจากบริเวณที่จอดรถยังสามารถมองเห็นส่วนของครัวได้อย่างชัดเจน และส่วนของครัวเองก็มีทางเท้าเชื่อมกับลานจอดรถอีกเส้นหนึ่งอีกด้วย  ส่วนทางด้านที่ติดอาคารมีลักษณะเป็นซอกเนื่องจากโครงสร้างของอาคาร และบางพื้นที่เป็นซอกและมีเศษวัสดุต่างๆ อยู่ภายใน และไม่มีระบบน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้อย่างชัดเจน แต่มีคลองขนาดไปตามแนวยาวของพื้นที่

           ข้อเสนอแนะ เนื่องจากบริเวณนี้มีการใช้งานของพื้นที่ค่อนข้างบ่อยและสภาพของทางเท้าไม่เหมาะสม รวมไปถึงมุมมองทางด้านต่างๆ เห็นส่วนของบริการอย่างชัดเจน ดังนั้นควรมีการปรับปรุงคุณภาพของทางเท้าให้แข็งแรงขึ้นและปลูกต้นไม้บิดบังส่วนต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น บริเวณของห้องครัว ซอกมุมที่เก็บวัสดุต่างๆ รวมถึงการเลือกชนิดของพืชพรรณที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ส่วนระบบน้ำควรเดินก๊อกน้ำหรือระบบสปริงเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

          

         

          การวิเคราะห์ส่วนบ้านญี่ปุ่นบริเวณนี้เป็นส่วนที่แยกออกมาจากอาคารหลัก มีบ้านทรงญี่ปุ่นเป็นจุดเด่นของพื้นที่ โดยมีทางเชื่อมต่อจากอาคารหลักเป็นทางปูนปูด้วยหินกาบ มีพื้นที่โล่งหลักคือบ่อน้ำที่กั้นระหว่างตัวบ้านกับพื้นระแนงไม้ของห้องอาหารราชาวดี  กลางบ่อน้ำมีเกาะกลางน้ำสามารถเดินมาได้จากตัวบ้านญี่ปุ่นด้วยแผ่นทางเท้าที่เป็นหินจริง  แต่มีลักษณะไม่มั่นคงเนื่องจากรอบๆ  ของแผ่นทางเท้าแต่ละแผ่นไม่มีดินบดอัดทางด้านข้าง บนเกาะกลางน้ำมีต้นพิกุลค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีการถมดินขึ้นทำให้มีความลาดชันพอสมควรเวลารดน้ำจึงไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้  สำหรับรอบ ๆตัวบ้านดินค่อนข้างทรุดและกรวดที่เรียงไว้กระจายออกนอกบริเวณที่จัดไว้เนื่องจากโดนน้ำฝนชะล้าง ส่วนพรรณไม้รอบๆ บ้านญี่ปุ่นมีบางส่วนตายไปเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 เหลือเพียงไม่กี่ต้น ทำให้ขาดบรรยากาศไปพอสมควร  นอกจากนั้นแล้วยังมีบ่อขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชา โดยจะอยู่บริเวณทางเข้าบ้านอีกด้านหนึ่ง แต่ม่สามารถใช้ได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบน้ำ  และน้ำที่ใช้รดจะต้องลากสายยางค่อนข้างไหลพอสมควรหรือนำน้ำจากบ่อน้ำมาใช้แทน

          ข้อเสนอแนะ บริเวณนี้มีความสำคัญค่อนข้างมาก ควรมีการปรับภูมิทัศน์พื้นที่รอบๆ บริเวณบ้านญี่ปุ่นรวมไปถึงบริเวณห้องจัดเลี้ยงของห้องอาหารราชาวดีให้มีความเหมาะสม โดยทางเท้าที่เป็นหินกาบจากอารหลักควรซ่อมแซมแผ่นที่หลุดและยาแนวต่างๆ ส่วนทางเท้าที่เป็นหินจริงควรอัดดินและทรายให้มั่นคง ส่วนบ่อน้ำสำหรับพิธีชงชาควรปรับให้เรียบร้อยมากขึ้น สำหรับต้นไม้โดยรอบควรปรับเปลี่ยนชนิดให้สวยงามและเหมาะสมให้เข้ากับบรรยากาศของสวนญี่ปุ่น ส่วนเกาะกลางน้ำที่อยู่ใกล้กับห้องอาหารราชาวดี (จุดหมายตาที่ 1) เป็นเกาะที่มีความลาดชันควรก่อขอบหินและปลูกไม้คลุมดินชะลอการไหลของน้ำ ไม่ควรปลูกไม้พุ่มที่สูง เนื่องจากอยู่ใกล้สายตา ส่วนเกาะที่ 2 ที่ใกล้บ้านญี่ปุ่น (จุดหมายตาที่ 2) ควรรื้อต้นไม้เดิมออกแล้วปลูกไม้พุ่มเพื่อสร้างเป็นจุดหมายตาดึงความสนใจออกจากฉากหลังที่ไม่น่าสนใจ ส่วนระบบน้ำควรดำเนินการเช่นเดียวกับสองบริเวณแรก

10. การออกแบบ

         ผลจากการวิเคราะห์นำมาพัฒนาเป็นแบบได้ดังนี้

ผังบริเวณสวนบ้านญี่ปุ่น

ทัศนียภาพบริเวณต่างๆ ของส่วนบ้านญี่ปุ่น

 

  

 

บรรยากาศบริเวณส่วนบ้านญี่ปุ่น

ผังบริเวณส่วนทางเข้าร้านอาหารราชารวดีและลานจอดรถ